บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติผู้แต่ง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ
ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง
พระองค์จะใช้นามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น
นอกจากนี้ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านการศึกษา การพัฒนาสังคม โดยมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายโครงการ
ลักษณะคำประพันธ์
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทความแสดงความคิดเห็น
ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงความคิดเห็นในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ความคิดเห็นที่มานำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์
การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการ สำรวจปัญหา ที่มาของเรื่อง
และข้อมูลต่างๆ
อย่างละเอียดความคิดเห็นที่นำเสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นมาก่อน
เรื่องย่อ
เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของ จิตร
ภูมิศักดิ์ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา
เนื้อเรื่อง
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้น่ะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นเม็ดพราว ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดปูนกี่เส้นเอ็น จึงแปรรวงมาเปิบกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง และน้ำแรงอันหลั่งริน
สายเลือดกูทั้งสิ้น ที่สูซดกำซาบฟัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น