วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

มหาชาติหรือมหาเวศสันดรชาดก

  พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า มหาเวศสันดรเป็นชาดกที่สำคัญกว่าชาดกเรื่องอื่น เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่โดยบนิบูรณ์ทั้ง ๑๐ บารมี
นอกจากนี้ยังมีผู้นำมหาเวสสันดรชาดกไปแต่งเป็นภาษาไทยอีกหลายสำนวน และใช้คำประพันธ์หลายชนิด เช่น กลอน ฉันท์ กาพย์ ลิลิต และร้อยแก้ว รวมทั้งยังมีมหาเวสสันดรชาดกที่เป็นภาษาถิ่นอีกหลายฉบับ
ประวัติผู้แต่ง
-                    สำนักวัดถนน กัณฑ์ทานกัณฑ์
-                   สำนักวัดสังข์กระจาย กัณฑ์ชูชก
-                   พระเทพโมลี (กิ่น) กัณฑ์มหาพน
-                   เจ้าพระยาพระคลัง (หน) กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี
หลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหารย์  ทำให้พระประยูรญาติละทิฐิยอมถวายบังคม  ก็บังเกิดฝนโบกขรพรรษ  พระภิกษุทั้งหลายจึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์ตรัสเล่าว่า  ฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีต  พระองค์จึงทรงแสดงธรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดก   หรือเรื่องมหาชาติ  ทั้ง 13 กัณฑ์  ตามลำดับ ดังนี้
       กัณฑ์ที่ 1 ทศพรา  พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี  ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร  แต่ปางก่อนนั้นผุสดีเทวีเสวยชาติเป็นอัครมเหสีของพระอินทร์  เมื่อจะสิ้นพระชนมายุจึงขอกัณฑ์ทศพรจากพระอินทร์ได้ 10 ประการ  ทั้งยังเคยโปรยผงจันทร์แดง  ถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้าและอธิฐานให้ได้เกิดเป็นมารดาพระพุทธเจ้าด้วย พร 10 ประการนั้นมีดังนี้
1.  ขอให้เกิดในกรุงมัททราช  แคว้นสีพี
2.  ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย
3.  ขอให้คิ้วคมขำดั่งสร้อยคอนกยูง
4.  ขอให้ได้นาม "ผุสดี" ดังภพเดิม
5.  ขอให้พระโอรสเกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป
6.  ขอให้พระครรภ์งาม  ไม่ป่องนูนดั่งสตรีสามัญ
7.  ขอให้พระถันเปล่งปลั่งงดงามไม่ยานคล้อยลง
8.  ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ
9.  ขอให้ผิวพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ
10. ขอให้ได้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้
          กัณฑ์ที่ 2 หิมพานต์  พระนางผุสดีจุติลงมาเป็นราชธิดาของพระเจ้ามัททราช  เมื่อเจริญชนม์ได้ 16 ชันษา  จึงได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งสีวิรัฐนคร  ต่อมาได้ประสูติพระโอรสนามว่า "เวสสันดร"  ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉันททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงได้นำมาไว้ในโรงช้างต้นคู่บารมี ให้นามว่า "ปัจจัยนาค"  เมื่อพระเวสสันดรเจริญชนม์ 16 พรรษา  พระราชบิดาก็ยกราชสมบัติให้ครอบครองและทรงอภิเษกกับนางมัทรี  พระราชธิดาราชวงศ์มัททราช  มีพระโอรสชื่อ  ชาลี  พระธิดาชื่อกัณหา  พระองค์ได้สร้างโรงทาน  บริจาคทานแก่ผู้เข็ญใจ  ต่อมาพระจ้ากาลิงคะแห่งนครกลิงคราษฎร์  ได้ส่งพราหมณ์มาขอพระราชทานช้างปัจจัยนาคเพื่อให้ฝนตกในบ้านเมืองที่แห้งแล้งกันดาร  พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคให้แก่พระเจ้ากาลิงคะ  ชาวกรุงสัญชัยไม่พอใจที่พระราชทานช้างคู่บ้านคู่เมืองไป  จึงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอกพระนคร
          กัณฑ์ที่ 3 ทานกัณฑ์  พระเวสสันดรทรงมหาสัตตสดกทาน  คือ  การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี  ชาลีและกัณหาออกจากพระนคร  จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตตสดกทาน  คือ  การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่  อันได้แก่  ช้าง  ม้า  รถ  โคนม  นารี  ทาสี  ทาสา  รวมทั้งสุราบาน  อย่างละ700
          กัณฑ์ที่ 4 วนประเวศน์  เป็นกัณฑ์ที่สี่กษัตริย์เดินทางสู่เขาวงกต  เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับหน้าศาลาพระนคร  กษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมือง  แต่พระเวสสันดรทรงปฏิบัติ กษัตริย์เจตราชจึงมอบหมายให้พรานเจตบุตรผู้มีความเชี่ยวชาญชำนาญป่าเป็นผู้รักษาประตูป่าไม้  กษัตริย์ทั้ง 4พระองค์ปลอดภัย  และเมื่อเสด็จถึงเขาวงกตได้พบอาศรม  ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของพระอินทร์ กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤาษีพำนักในอาศรมสืบมา
          กัณฑ์ที่ 5 ชูชก  ในแคว้นกาลิงคะมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชกพำนักในบ้านทุนวิฐะเที่ยวขอทานตามเมืองต่าง ๆ เมื่อได้เงินถึง 100 กหาปณะ  จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมียแล้วออกเดินทางขอทานต่อไป  เมื่อเห็นว่าชูชกหายไปนานจึงได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว  เมื่อชูชกเดินทางมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูกชก  นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชกได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี  ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาของตน  หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตีนางอมิตดา  ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อมาเป็นทาสรับใช้  เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพรานเจตบุตรผู้รักษาประตูป่า
          กัณฑ์ที่ 6 จุลพน  พรานเจตบุตรหลงกลชูชก  ที่ได้ชูกลักพริกขิงให้พรานดู  อ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของพระเจ้ากรุงสญชัยจะนำไปถวายพระเวสสันดร  พรานเจตบุตรจึงต้อนรับและเลี้ยงดูชูชกเป็นอย่างดีและได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤาษี
          กัณฑ์ที่ 7 มหาพน  เมื่อถึงอาศรมได้พบกับอจุตฤาษี  ชูกชกใช้คารมหลอกล่อจนอจุตฤาษีให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร  พร้อมพรรณนาหมู่สัตว์และพรรณไม้ตามเส้นทางให้ชูชกฟัง
          กัณฑ์ที่ 8 กัณฑ์กุมาร  เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงให้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก  พระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพราก  รุ่งเช้าเมื่อพระนางมัทรีเข้าป่าหาอาหารแล้ว  ชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร สองกุมารลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระ  พระเวสสันดรจึงเสด็จติดตามหาสองกุมารแล้วมอบให้แก่ชูชก
          กัณฑ์ที่ 9 กัณฑ์มัทรี  พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึกจนคล้อยเย็นจึงเดนทางกลับอาศรม  แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทางจนค่ำ  เมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรสธิดาและพระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ  พระนางมัทรีจึงออกเที่ยวหาโอรสธิดาและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์  พระองค์ทรงตกพรทัยลืมตนว่าเป็นดาบสจึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง  เมื่อพระนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษ  พระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสธิดาแก่ชูชกแล้ว  หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบกัน  พระนางมัทรีจึงได้ทรงอนุโมทนาในปิยบุตรทานนั้น
          กัณฑ์ที่ 10 สักรบรรพ  พระอินทร์เกรงว่าพระเวสสันดรจะประทานพระนางมัทรีให้แก่ผู้ที่มาขอ  จึงแปลเป็นพราหมณ์เพื่อมาทูลขอพระนางมัทรี  พระเวสสันดรจึงประทานให้พระนางมัทรีก็ยินดีอนุโมทนาเพื่อร่วมทานบารมีให้สำเร็จพระสัมโพธิญาณ  เป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวสะท้าน  พระอินทร์ในร่างพราหมณ์จึงฝากพระนางมัทรีไว้ยังไม่รับไป  แล้วตรัสบอกความจริงและถวายคืนพร้อมถวายพระพร 8 ประการ
          กัณฑ์ที่ 11 มหาราช  เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้  ส่วนตนเองปีนขึ้นไปนอนต้นไม้  เหล่าเทพเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมารจนเดินทางถึงกรุงสีพี  พระเจ้ากรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายนั้นนำมายังความปีติปราโมทย์  เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้า  ทอดพระเนตรเห็นชูชกและกุมารทั้งสองพระองค์  ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน  ต่อมาชูชกก็ถึงแก่ความตายเพราะกินอาหารมากเกินขนาดจนไม่ย่อย  พระชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร  ในขณะเดียวกันเจ้านครลิงคราษฏร์ได้คืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี
          กัณฑ์ที่ 12 ฉกษัตริย์  พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา 1 เดือน กับ 23 วัน  จึงเดินทางถึงเขาวงกต  เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง 4  เหล่า  ทำให้พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมาโจมจีนครสีพี  จึงชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา  พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดาจึงได้ตรัสทูลพระเวสสันดร  และเมื่อทั้งหกกษัตริย์ได้พบกันทรงกันแสงสุดประมาณ  รวมทั้งทหารเหล่าทัพทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน  พระอินทร์จึงได้ทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมาประพรมกษัตริย์ให้หายเศร้าโศกและฟื้นพระองค์
          กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์  พระเจ้ากรุงสญชัยตรัสสารภาพผิด  พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรี  และเสด็จกลับสู่สีพีนคร  เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง  ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า  รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน  พระองค์จะประทานสิ่งใดให้แก่ประชาชน  ท้าวโกสีย์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว 7 ประการ  ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง  พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนมาขนเอาไปตามปรารถนา  ที่เหลือให้ขนเข้าพระคลังหลวง
ในกาลต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรม  บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ อ่านต่อ

มงคลสูตรคำฉันท์

เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่6 ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเกทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด คือกาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง
   แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์
โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลักษณะคำประพันธ์
กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์11
เรื่องย่อ
   สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลสูงสุด 38 ประการ ไว้ในมงคลสูตรซึ่งสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฏในพระไตรปิฏก ขุททกนิกาย หมวดทขุททกปาฐะ
เนื้อเรื่อง
๑ สิบสองฉนำเหล่า        นรอีกสุเทวา
   รวมกันและตริหา        สิริมังคลา
  เทวามนุษย์ทั่ว           พหุภพประเทศใน
     หมื่นจักรวาล              ดำริสิ้นจิรังกาล
     แล้วยังบ่รู้มง-             คละสมมโนมาลย์
    ด้วยกาละล่วงนาน       บ่มิได้ประสงค์สม
     ได้เกิดซึ่งโลกา-           หละยิ่งมโหดม
     ก้องถึงณชั้นพรหม      ธสถิตสะทือนไป อ่านต่

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี


บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติผู้แต่ง
             สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะใช้นามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น
             นอกจากนี้ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านการศึกษา  การพัฒนาสังคม โดยมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายโครงการ
ลักษณะคำประพันธ์
             ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทความแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงความคิดเห็นในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง  ความคิดเห็นที่มานำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์ การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการ สำรวจปัญหา ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียดความคิดเห็นที่นำเสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นมาก่อน
เรื่องย่อ
เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา
เนื้อเรื่อง
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
เปิบข้าวทุกคราวคำ              จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน                                 จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้น่ะมีรส                        ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน                        และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง              ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นเม็ดพราว                      ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด            ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดปูนกี่เส้นเอ็น                              จึงแปรรวงมาเปิบกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                 และน้ำแรงอันหลั่งริน
สายเลือดกูทั้งสิ้น                             ที่สูซดกำซาบฟัน
  อ่านต่อ

หัวใจชายหนุ่ม

        หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิต” เมื่อ พ..๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน
.ประวัติผู้แต่ง
         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖
แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ทรงครองราชย์ (พ.๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครองการต่างประเทศ และโดยเฉาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภททรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
.ลักษณะคำประพันธ์
          หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับในเรื่องดังนี้
 .หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.๒๔๖- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ ๓0มีนาคม พ.๒๔๖- จะเห็นว่ามีการเว้นท้ายปี พ..ไว้                                    
 .คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “พ่อประเสริฐเพื่อนรัก
๔.เนื้อเรื่อง  อ่านต่อ